อิฐ ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการก่อสร้างอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป
หมวดหมู่ : งานก่อฉาบ , 
Share
อิฐ ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการก่อสร้างอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป
1. อิฐมอญ
อิฐมอญ หรือ อิฐแดง หรือ อิฐดินเผา เป็นอิฐขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ชนิดทำมือ (ผิวจะขรุขระ) และ ชนิดปั้นด้วยเครื่อง (ผิวจะเรียบ) และยังทำให้เบาขึ้น เนื่องจากมีรูกลวง 2-3 รูตลอดความยาวของอิฐ ทำจาก ดินเหนียว น้ำ และวัสดุที่ผสมเพิ่ม เช่น ขี้เถ้า แกลบ ทราย ผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม จากนั้นใส่แบบพิมพ์อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมตามขนาดที่ต้องการ ทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นจึงนำเข้าเตาเผาไปเผาจนสุก อิฐชนิดนี้มีขนาดและสัดส่วนไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับรูปแบบและแหล่งผลิต
ลักษณะการใช้งาน อิฐมอญ หรือ อิฐแดง นิยมใช้กับงานก่อสร้างทั่วไป มีข้อดี คือ สามารถยึดเกาะได้ดีกว่าอิฐประเภทอื่นๆ แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมากๆ
2. อิฐมวลเบา
อิฐมวลเบา น่าจะเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- อิฐมวลเบาชนิด AAC (Autoclave Aerated Concrete) หรือ ชนิดอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง
ผลิตโดยใช้การอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง วัตถุดิบในการผลิตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก ทำให้คุณภาพคอนกรีตไม่สม่ำเสมอและดูดซึมน้ำมากกว่า ส่วนชนิดปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คุณภาพคอนกรีตได้มาตรฐานสม่ำเสมอ และเกิดการตกผลึกในเนื้อคอนกรีตทำให้แข็งแกร่งทนทานขึ้น เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีขาว มีข้อดีคือ มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงกว่า อิฐมวลเบาชนิด CLC แต่ข้อเสียคือ อัตราการดูดซึมน้ำมาก
- อิฐมวลเบาชนิด CLC (Cellular Lightweight Concrete) หรือ ชนิดไม่อบไอน้ำ
เป็นอิฐที่ถูกผลิตโดยการใส่สารผสมเพิ่มปริมาณฟองอากาศเข้าไป วัตถุดิบในการผลิตประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ สารก่อฟองคุณภาพสูง ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมากที่มีความเสถียรและแทรกตัวอยู่ในเนื้อคอนกรีต ทำให้มีน้ำหนักเบา เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเทา ทำให้ อิฐมวลเบาชนิด CLC แน่นและดูดซึมน้ำได้น้อยกว่าแบบ AAC จึงลดปัญหาความชื้นและเชื้อรา มีคุณสมบัติความเป็นฉนวน ได้แก่ ฉนวนกันความ ร้อน กันเสียง และกันความชื้น
3. อิฐบล็อก คอนกรีตบล็อก
อิฐบล็อก ทำจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับทราย นิยมใช้ในงานก่อสร้างเช่นเดียวกับอิฐมอญ แต่มีราคาถูกและก่อสร้างได้รวดเร็วกว่า เหมาะกับงานที่ต้องควบคุมค่าใช้จ่าย อาจมีความแข็งแรงไม่เท่าอิฐมอญ เพราะวัสดุมีรูพรุนมากกว่า ความหนาของ อิฐบล็อก มีหลายขนาด เช่น 7 เซนติเมตร, 9 เซนติเมตร, 14 เซนติเมตร และ 19 เซนติเมตร
ส่วนคอนกรีตบล็อกนั้น มักทำจากส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ หิน และทราย จึงรับน้ำหนัก และแรงอัด ได้ดี นิยมใช้ในงานปูพื้นและทางเข้า ซึ่งการขึ้นงานทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว